รู้สาเหตุคอมเพรสเซอร์แอร์รถยนต์เสีย และแนวทางเลือกซื้อใหม่แบบไม่มีพลาด

รู้สาเหตุคอมเพรสเซอร์แอร์รถยนต์เสีย และแนวทางเลือกซื้อใหม่แบบไม่มีพลาด

สำหรับเรื่องของรถยนต์แล้ว ก็ต้องยอมรับว่ามีหลายอย่างที่เราจะต้องดูแลใส่ใจอยู่เสมอ ตั้งแต่เรื่องของการขับขี่อย่างถูกต้องเพื่อรักษาสภาพรถให้สามารถใช้งานได้นาน ๆ การบำรุงรักษาอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่าง ๆ รวมไปถึงเรื่องของการเลือกความคุ้มครองจากประกันภัยรถยนต์ก็เป็นเรื่องที่ต้องพิถีพิถันใส่ใจด้วย เรียกว่ามีรถ 1 คันก็เหมือนมีลูก 1 คนเลย แม้อาจจะยุ่งยากบ้าง แต่รถยนต์ก็มอบความสะดวกสบายให้กับเราได้ อีกส่วนหนึ่งที่เรียกว่ามีความสำคัญไม่น้อยในรถยนต์ ก็คือส่วนของคอมเพรสเซอร์แอร์ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของระบบปรับอากาศในรถเลยทีเดียว ยิ่งเมืองไทยเป็นเมืองร้อนเช่นนี้ ถ้าขับรถขณะที่แอร์เสีย คงไม่ต้องนึกเลยว่าจะทรมานขนาดไหน หากว่าคอมเพรสเซอร์แอร์ของรถเราเกิดเสียขึ้นมาจริง ๆ ก็ต้องมาหาสาเหตุเพื่อที่จะแก้ไขกัน และถ้าแก้ไขไม่ได้ต้องซื้อมาเปลี่ยนใหม่ จะเลือกอย่างไร มาดูรายละเอียดเรื่องนี้กันเลย คอมเพรสเซอร์แอร์รถยนต์มีระบบการทำงานอย่างไร ก่อนที่จะไปดูว่าคอมเพรสเซอร์แอร์รถยนต์เสียได้อย่างไร มาจากสาเหตุไหน ก็อยากจะชวนคุณทุกมาทำความรู้จักกับคอมเพรสเซอร์แอร์กันให้มากขึ้นสักนิด เพราะถ้ามีพื้นฐานและรู้จักอุปกรณ์ส่วนนี้ดีขึ้นแล้ว จะทำให้เราเข้าใจสาเหตุที่ทำให้อุปกรณ์ส่วนนี้เสียได้ง่ายขึ้น คอมเพรสเซอร์แอร์ของรถยนต์นั้นจะมีระบบสายพาน ซึ่งจะใช้กำลังของเครื่องยนต์ในการหมุนสายพานให้ตัวอุปกรณ์ทำงาน เมื่อตัวอุปกรณ์ทำงานแล้วจะมี Magnetic Clutch เป็นตัวควบคุมการทำงานคอยอัดน้ำยาให้ไหลวนในระบบ และจะมีการปล่อยไอเย็นและดูดความร้อน จากนั้นก็จะมีการระบายความร้อนออกไปภายนอก กระบวนการทำงานจะทำงานสลับ ๆ แบบนี้ไปเรื่อย ๆ ถ้าตัวอุปกรณ์ทำงานปกติ สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้คอมเพรสเซอร์แอร์รถยนต์เสีย 1.ชิ้นส่วนภายในชำรุด หากมีอุปกรณ์ภายในชิ้นใดชิ้นหนึ่งชำรุดเสียหาย ก็จะทำให้คอมเพรสเซอร์แอร์เสียได้ ซึ่งอาการที่บ่งบอกว่าอุปกรณ์ภายในมีปัญหาก็คือคอมเพรสเซอร์แอร์จะส่งเสียงดังผิดปกติ รถบางคันมีการเฉี่ยวชนมา แรงกระแทกตอนชนอาจทำให้อุปกรณ์ภายในของคอมแอร์เสียได้ หลังจากเคลมประกันภัยรถยนต์ซ่อมแล้วไม่พบอาการ แต่อาการเสียมาพบเอาตอนหลังก็เป็นไปได้เช่นกัน 2.กำลังอัดไม่เพียงพอ หากสายพานส่งกำลังอัดมาแล้ว แต่กระบวนการอัดน้ำยาความเย็นรับแรงอัดไม่ได้ จนทำให้กระบวนการควบแน่นเพื่อจะส่งไอเย็นออกมานั้นไม่เพียงพอ […]

รวมภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อคุณสั่งเสื้อผ้าจากจีน

รวมภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อคุณสั่งเสื้อผ้าจากจีน

บทความนี้เราจะมาพูดถึงภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อคุณสั่งเสื้อผ้าจากจีนกันว่าเมื่อคุณสั่งเสื้อผ้าจากจีน คุณจำเป็นต้องจ่ายภาษีใดบ้างว่าแล้วก็อย่ามัวเสียเวลา เราไปหาคำตอบนั้นพร้อมๆ กันที่บทความ“รวมภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อคุณสั่งเสื้อผ้าจากจีน” นี้เลยรวมภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อคุณสั่งเสื้อผ้าจากจีน ภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อคุณสั่งเสื้อผ้าจากจีน คือ ภาษีอากรขาเข้า หมายถึงภาษีเงินได้ที่เป็นรายได้หลักของประเทศที่กรมศุลกากรนั้นถูกกำหนดให้เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่จัดเก็บจากการนำเข้าสินค้าจากจีนหรือส่งออกสินค้าสู่ต่างประเทศซึ่งภาษีที่จะทำการจัดเก็บนั้น มีข้อบังคับดังนี้ คือหากเป็นการนำเข้าสินค้าจากจีนผ่านการถือเข้ามาเป็นของติดตัวสินค้าเหล่านั้นจะต้องมีมูลค่าต่ำกว่า 20,000 บาทกฎหมายจึงจะยกเว้นการชำระภาษีให้และหากเป็นสินค้าที่นำเข้าสินค้าจากจีนผ่านชิปปิ้ง สินค้านั้น ๆจะต้องมีมูลค่าที่รวมค่าประกันภัยและค่าขนส่งเกิน 1,500 บาทจึงจะเรียกเก็บค่าภาษีอากร แต่หากต่ำกว่า 1,500บาทนั้นจะได้รับการยกเว้นการเสียภาษีนั่นเอง ภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อคุณสั่งเสื้อผ้าจากจีน คือ ภาษีสรรพสามิต หมายถึงภาษีทีเรียกเก็บเฉพาะกลุ่มสินค้าที่มีเหตุผลที่จำเป็นจะต้องเสียภาษีเยอะกว่าสินค้าในกลุ่มอื่น ๆ ได้แก่สินค้าที่บริโภคแล้วอาจจะก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย สินค้าฟุ่มเฟือยสินค้าที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เช่น เครื่องดื่ม น้ำมัน รถยนต์เรือยอชต์ น้ำหอม เครื่องถักทอที่ทำมาจากขนสัตว์ สุราและยาสูบเป็นต้น ภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อคุณสั่งเสื้อผ้าจากจีน คือ ภาษีเพื่อมหาดไทยภาษีส่วนนี้นั้นจะต้องมีการเรียกเก็บต่อเมื่อเราได้มีการชำระภาษีสรรพสามิตเท่านั้นซึ่งสินค้าที่จะต้องเสียภาษีมหาดไทยก็จะเป็นสินค้ากลุ่มเดียวกันกับสินค้าในกลุ่มของภาษีสรรพาสามิตอันได้แก่ ไพ่ สุรา น้ำหอม แบตเตอรี่เป็นต้น และภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อคุณสั่งเสื้อผ้าจากจีน ภาษีสุดท้าย คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT)เป็นภาษีที่มีการเรียกเก็บทั้งการนำเข้าสินค้าจากจีนและการจำหน่ายสินค้าภายในประเทศเพราะเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิตสินค้าหรือบริการ ซึ่งปัจจุบันนั้นมีการเรียกเก็บอยู่ที่ 7 %ซึ่งสำหรับการนำเข้าสินค้าจากจีนนั้นจะเรียกเก็บเช่นเดียวกันเดียวกับการเรียกเก็ฐภาษีอากรขาเข้าคือจะจัดเก็บต่อเมื่อมีการนำเข้าสินค้าเข้ามาภายในประเทศเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด